วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การเขียนพู่กันจีน

书法(ซูฝ่า) การเขียนพู่กันจีนมีประวัติความเป็นมายาวนานคู่กับประเทศจีน ถือเป็นศิลปะขั้นสูงหนึ่งในสี่อย่างของชนชาติจีน คือ การเขียนพู่กันจีน การวาดภาพ การบรรเลงเครื่องสาย และการเล่นหมากรุกจีน นอกจากจีนแล้วการเขียนพู่กันจีนยังเป็นที่นิยมในหมู่ชาวเอเชียอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลี เวียตนามและสิงคโปร์ ผู้ที่จะเรียนพู่กันจีนควรมีพื้นฐานภาษาจีนเพื่อที่จะรู้วิธีเขียนอักษรแต่ละตัวให้เป็น การเขียนพู่กันจีนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ไม่เพียงสื่อสารความคิดของผู้เขียน ยังแสดงถึงลักษณะเส้นสายที่มีจังหวะการเขียนและองค์ประกอบของตัวหนังสือที่งดงาม บ่งบอกถึงลักษณะนิสัยของเจ้าของลายมือและเป็นการฝึกสมาธิที่ดีอย่างหนึ่งอีกด้วย นักเขียนพู่กันจีนที่มีชื่อเสียงของจีนมีอยู่หลายท่าน เช่น หวางซีจือ(ลูกชายท่าน หวางเสี้ยนจือก็ขึ้นชื่อว่ามีลายมืองดงามเช่นกัน), โอหยางสุน(เราชอบลายมือท่านนี้ที่สุดค่ะ), หลิวกงเฉวียน, ซูซื่อ, ซูเว่ย ฯลฯ ในงานของศิลปินตะวันตกสองท่านคือ Picasso และ Matisse จะเห็นได้ชัดว่าได้รับอิทธิพลของการเขียนพู่กันจีนด้วย




อักษรจีนจะมีโครงสร้าง ๓ ลักษณะ คือวงกลม สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม แต่ละตัวมีจำนวนขีดและจุดที่แน่นอน การฝึกเขียนพู่กันจีนต้องเริ่มฝึกด้วยการลอกจากแบบตัวหนังสือทีละตัว ทีละขีดให้แม่นยำ และจะเขียนให้เก่งก็ต้องฝึกฝนบ่อยๆเท่านั้น



อุปกรณ์ที่ใช้

๑. กระดาษ

๒. หมึกจีนหรือแท่งฝนหมึก

๓. พู่กัน

๔. จานรองหมึก

๕. ที่ทับกระดาษ

๖. ที่รองกระดาษเวลาเขียนกันหมึกซึม

๘. ตราประทับชื่อ



แบบตัวอักษรที่ใช้เขียนมี ๕ แบบคือ

๑. จ้วนซู กำหนดรูปแบบขึ้นมาในสมัยราชวงศ์เฉิน เป็นแบบที่เก่าที่สุดและยังใช้ฝึกเขียนจนทุกวันนี้ ตราประทับมักแกะสลักด้วยตัวหนังสือประเภทนี้

๒. ลี่ซู นิยมเขียนกันมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น ตัวหนังสือจะออกแป้นๆ การเขียนเน้นที่การลากหางเป็นเส้นหนา ปัจจุบันใช้ในงานตกแต่งหรืองานศิลปะมากกว่า

๓. เฉ่าซู ลักษณะตัวหนังสือแบบหวัด

๔. สิงซู ลักษณะตัวหนังสือหัวดแกมบรรจง

๕. ข่ายซู ลักษณะตัวหนังสือแบบบรรจง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น